สติปัฏฐาน ๔ สติกำหนดพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ส่วนมากพ่อแม่ครูอาจารย์ จะสอนให้พิจารณากายเป็นส่วนมาก (เพื่อตัดกามราคะ) ในการพิจารณากาย เมื่อจิตสงบ จะต้องเพ่งกายส่วนใดส่วนหนึ่งให้เห็นชัดจริง (หลับตาแล้ว มองเห็นกายชัดจริง เห็นเหมือนตาทิพย์ เหมือนดูทีวี)จากนั้น ใช้กระแสจิตกำหนดกายส่วนที่เห็นนั้น ให้สลายแยก ออกตามเข้าไปเรื่อยๆ (๑ – ๓ นาที) เอาจิตวางพักตรงที่พักจิต เช่น ที่หน้าผาก สักครู่(ประมาณ ๑ นาที) ทำเหมือนเดิม สลับไปมา คือ พิจารณาแล้วพัก เรียกอนุโลมปฏิโลม , มัชฌิมาปฏิปทา , ความพอดี , ผ่อนสั้นผ่อนยาว รวมเรียก สติกำหนดพิจารณากาย , ออกทางปัญญา และ พิจารณาไตรลักษณ์ฯ จิตจะละเอียดเข้าไปเรื่อยๆ เมื่อมีความพอเพียง กิเลสจะเริ่มเบาบาง ที่สุด ก็จะหมดสิ้นไปจากใจ ถ้าจิตสงบแล้ว เพ่งกายส่วนใดส่วนหนึ่ง แล้วเห็นชัดจริง ก็ให้พิจารณาเป็นลักษณะดังที่กล่าวมา
สักระยะและอย่าให้นานเกินไป ถ้าเพ่งพิจารณากายแล้วไม่เห็นจริง คือ สงบมืดฯ ลักษณะคิดนึกพิจารณาเอง โดยไม่เห็นชัดจริง นั่นคือ การตะ
ครุบเงา วิปัสสนาตกน้ำ สมาธิหัวตอ วิปัสสนาจริงๆ ไม่เกิด ทำให้หลง และ
ข่มกิเลสชั่วคราว เปรียบกับการค้าขาย ที่ไม่มีกำไร จึงทำให้เสียเวลา เพราะกิเลสยังมีเต็ม ๑๐๐ จิตปล่อยวางไม่ได้ สังเกต เมื่อมีสิ่งมาทดสอบ ให้รีบแก้ไข หากปล่อยนานไปจะติด แก้ไขยาก รั้น หลง และ เข้าข้างตัวเอง
การภาวนา ๔–๕ วัน จิตสงบ รีบตักตวง วันที่ ๖–๘ ไม่สงบ เพราะจิตต้องการพัก ให้ลดความเพียร แล้วเปลี่ยนอิริยาบถ วันที่ ๙–๑๓ สงบเหมือนเดิม เกิดดับสลับไปมา (ไตรลักษณ์) สังขารทั้งหลาย แม้กระทั่งร่าง
กาย และ ธาตุขันธ์ นั้น มีความไม่เที่ยง เพราะ อยู่ใต้อำนาจของกฎไตรลักษณ์ พระนิพพาน สิ่งเดียว เที่ยงตลอดอนันตกาล คือ เหนือไตรลักษณ์ (กฎ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้าไม่ถึงจิต) หากมรรคผลไม่เกิด ให้ใช้สติกำหนดพิจารณาจิต (ผู้รู้) แก้ได้ทุกจริต (ค่อยๆ ปฏิบัติ) เพราะ เป็นทางเพื่อพ้นทุกข์โดยตรง ใช้กำลังไม่มาก เพราะ ออกทางปัญญา จึงลงทุนน้อย แต่ได้ผลมาก เปรียบ การค้าขายที่ได้กำไรมากมาย สะดวก รวดเร็ว และปลอด ภัย หากปฏิบัติโดยสม่ำเสมอ โดย ดำเนินตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา ๔–๒๐ วัน กิเลสจะเริ่มเบาบาง ที่สุดก็จะหมดสิ้นไปจากใจ จะช้า หรือ เร็ว ราบรื่น หรือ ลำบาก ขึ้นอยู่ที่การรักษาจิต และ ความเพียร ทำมาก หรือ ทำน้อย
ทำจิตให้สงบ (ปัจจุบัน) อย่ากำหนดให้เห็น หรือ สว่าง ให้เห็นหรือสว่างเอง เห็น ก็กำหนดให้สลายฯ ไม่เห็น ก็มโนภาพ นึก ให้สลายแยกออกตามเข้าไปเรื่อยๆ ไม่ต้องละเอียดมาก โดย อนุโลมปฏิโลม รวมเรียกว่า การพิจารณาจิต (ผู้รู้) ออกทางปัญญา พิจารณาไตรลักษณ์ เมื่อพอเพียง กิเลสจะเริ่มเบาบาง ที่สุด จะหมดสิ้นไปจากใจ หากจิตส่งออก คิดโน่นคิดนี่ นั่นคือ สมุทัย (เหตุทำให้เกิดทุกข์) การแก้ไข ให้ใช้คำบริกรรม เช่น นึกพุทโธให้มากๆ ไม่ช้า ไม่เร็ว (ปานกลาง) ทำให้สม่ำเสมอ จิตจะออกทางปัญญา เป็นวิปัสสนาโดยอัตโนมัติ ภพชาติ คือ การเกิดจะถูกทำลายไปเรื่อยๆ ที่สุด จะหมดสิ้นไป เช่นเดียวกัน กิเลส (ราคะ โทสะ โมหะ ภายในจิต) จะเริ่มเบาบาง ที่สุด ก็จะหมดสิ้นไปจากใจ จิตจะเริ่มปล่อยวาง เมื่อมีสิ่งเข้ามาทดสอบ สังเกต การเบาบาง และ หมดสิ้นไปของกิเลส อย่าสนใจอดีต เช่น การระลึกชาติ เพราะ เป็นสิ่งที่ล่วงมาแล้ว อย่าสนใจอนาคต เช่น การรู้ล่วง หน้า เพราะ เป็นสิ่งยังมาไม่ถึง (ทำให้ล่าช้าต่อการพ้นทุกข์) ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด คือ สร้างบุญกุศล และ พิจารณา พอเพียงแล้ว อนาคต ก็จะดีเอง
มหาสติ มหาปัญญา (ใช้เรียกสำหรับ พระพุทธเจ้า) เทียบกับสติ
ปัญญา ความเพียร และ ฆ่ากิเลสอัตโนมัติ (ใช้เรียกสำหรับ พระสาวก) คือเครื่องมือฆ่ากิเลส หลังจากงานแก้กิเลสสิ้นสุด เครื่องมือนี้ก็วาง การภาวนาและ ข้อวัตร (เครื่องแก้ , ถอดถอนกิเลส) ประจำวันต่างๆ ปฏิบัติเป็นปกติเพื่อเป็นวิหารธรรม (เครื่องอยู่ เครื่องอาศัย) เนื่องจาก ธาตุขันธ์ ลมหายใจยังมีอยู่ การพิจารณาออกทางปัญญา ทำเหมือนเดิมสักระยะ (เผื่อ) ป้องกันวิปัสสนูปกิเลส (หลง) หลังจากนั้น หยุดพิจารณา เอาจิตวางพักที่ฐาน เช่น หน้าผาก มีสติรู้อยู่ เพื่อสะสมพลังจิต , ฟอกธาตุขันธ์ ยิ่งนาน อัฏฐิธาตุ จะเกิดเร็วขึ้น สร้างบุญกุศล โปรดสอนผู้อื่นต่อ ทำประโยชน์ให้กับตนเองสังคมและส่วนรวม มองโลกมองอย่างเป็นกลางๆ เพราะโลกมีสูงต่ำดำขาว ดี และ ชั่ว คละเคล้ากันไป จึงจะสมกับการเกิดมาเป็นคนอย่างเต็มภาคภูมิ